โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 92 – วัคซีนสมัยปัจจุบัน (3)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 13 พฤศจิกายน 2567
- Tweet
ในช่วงต้นคริสตทศวรรษ 1990s มีผู้ป่วยอีสุกอีใส (Chickenpox) เฉลี่ย 4 ล้านรายต่อปี โรคนี้มักจะ (Typically) มีอาการไม่รุนแรง (Mild) โดยจะมีตุ่ม (Bumpy) คัน (Itchy) สีแดง 200 ตุ่มขึ้นในบริเวณ (Lesion) ทั่วร่างกาย และมีไข้ (Fever) การสัมผัส (Exposed) กับเชื้ออีสุกอีใสอาจเกิดจากงาน "ปาร์ตี้อีสุกอีใส" ที่จัดขึ้นสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน (Pre-school) ซึ่งเป็นเรื่องปรกติ เพราะอาการ (Symptom) ในเด็กมักไม่รุนแรงเท่ากับในผู้ใหญ่ ดังนั้นพ่อแม่ (Parents) จึงต้องการให้ลูกสัมผัสกับเชื้อตั้งแต่อายุยังน้อย
สิ่งที่ไม่ค่อยมีใครรู้ ก็คืออีสุกอีใสสามารถทำให้เกิดอาการรุนแรง (Severe) ได้ เช่น การติดเชื้อ (Infection) แบคทีเรียที่ผิวหนัง (Skin), ปอดบวม (Pneumonia), ไข้สมองอักเสบ (Encephalitis), เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis), การอักเสบของไขสันหลัง (Transvers myelitis หรือ Spinal-cord inflammation), กลุ่มอาการ Guillain-Barre (การอักเสบของเส้นประสาทเฉียบพลัน [Acute nerve inflammation] และอัมพาต [Paralysis]) และโรคอื่นๆ
ไข้สมองอักเสบเกิดขึ้นใน 1.8 ราย จากทุกๆ 10,000 ราย และอาจนำไปสู่อาการชัก (Seizure) และหมดสติ (Coma) อีสุกอีใสทำให้มีผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (Hospitalization) เกือบ 13,000 รายและเสียชีวิต 150 รายต่อปี วัคซีนอีสุกอีใสมีจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 และสามารถป้องกัน (Prevent) ผู้ป่วยได้มากกว่า 3.5 ล้านราย, ป้องกันการเข้ารักษาในโรงพยาบาล 9,000 ราย, และการเสียชีวิต (Death) 100 รายต่อปี
เมื่อไม่นานมานี้ ในช่วงกลางคริสตทศวรรษ 2000s มีการเปิดตัววัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV (= Human Papilloma Virus) ไวรัสนี้เป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อเนื้อเยื่อบุผิว (Epithelial tissue) และก่อที่ก่อโรคบริเวณอวัยวะเพศ (Sex organ) และทวารหนัก (Anus) ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ด้วยการสัมผัสเชื้อโดยตรง หรือการมีเพศสัมพันธ์ (Sexual intercourse) นอกจากนี้ ผู้ที่มีเชื้อ HPV อยู่ในร่างกาย มักไม่มีอาการแสดงใด ๆ จึงอาจแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว
วัคซีนป้องกันไวรัส HPV นี้นำไปสู่การลดลง (Decline) ของการติดเชื้อ HPV ในผู้หญิงอเมริกันวัยหนุ่มสาว ประมาณ (Roughly) 80-90% เมื่อเทียบกับยุคก่อนวัคซีน (Pre-vaccine era) ซึ่งความสำคัญ (Importance) ของวัคซีนนี้ได้กล่าวไว้ในตอนก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรอง (Screening)
เป็นที่ชัดเจนว่าวัคซีนให้ประโยชน์ (Benefit) และลดการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อ (Communicable disease) ในตอนก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงเชื้อโรค (Organism) บางชนิดที่เราฉีดวัคซีนป้องกันได้ (Preventable) ซึ่งในอดีตเคยส่งผลกระทบต่อสังคม (Society) ของเราอย่างมาก
แต่ความลังเล (Hesitancy) ที่จะรับฉีดวัคซีนเกิดจากความเสี่ยงที่หยั่งรู้ (Perceived risk) และความตระหนัก (Awareness) ที่ไม่เพียงพอเกี่ยวกับความร้ายแรง (Gravity) ของโรคที่วัคซีนเหล่านี้ป้องกันไว้ ดังนั้น อัตราส่วน (Ratio) ระหว่าง ความเสี่ยงต่อประโยชน์ จึงไม่สมดุล (Skew) ในความคิดของหลายคน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง (Incorrect)
แหล่งข้อมูล –